EXPERTISE

5 ข้อควรรู้ในการใช้ Shutter Speed

ความเร็วชัตเตอร์ 10 วินาที ทำให้เห็นไฟรถยาวเป็นเส้นไปตามทิศทางที่รถวิ่ง

                          ความเร็วชัตเตอร์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการควบคุมปริมาณของแสงที่เข้ามาในกล้อง เข้าไปสู่เซ็นเซอร์กล้อง ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กันกับขนาดของรูรับแสง และความไวแสง(ISO) ซึ่งความเร็วชัตเตอร์จะมีผลโดยตรงกับสิ่งใดก็ตามที่มีการเคลื่อนไหว และให้ผลที่แตกต่างกันระหว่างความเร็วชัตเตอร์สูง และความเร็วชัตเตอร์ต่ำ


การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง 1/1000 วินาที หยุดจังหวะการเคลื่อนไหวของเด็กและน้ำที่สาดขึ้นมาได้นิ่งสนิท

                           ความเร็วชัตเตอร์สูง สามารถหยุดจังหวะการเคลื่อนไหวต่างๆได้ ซึ่งจะเห็นว่าช่างภาพกีฬามักจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อหยุดจังหวะแอ๊คชั่นต่างๆ ของนักกีฬา ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ มักจะใช้สำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่มีการเคลื่อนไหว แล้วให้รู้สึกพลิ้วไหว นุ่มนวล

                            แต่สำหรับภาพการเคลื่อนไหวบางอย่าง เช่น ภาพรถ หลายๆครั้งจะเห็นว่าช่างภาพใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และแพนกล้องตามรถ ซึ่งจะได้ภาพที่รถชัดเจน แต่ฉากหลังจะเบลอเป็นเส้น รวมทั้งล้อรถที่กำลังหมุนอยู่ ก็เบลอแสดงถึงการเคลื่อนไหว ซึ่งถ่ายทอดอารมณ์ของภาพได้ดีกว่าการหยุดจังหวะให้นิ่งสนิท เช่นรูปด้านล่าง


ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/2 วินาที ถ่ายรถกำลังวิ่งยิ่งความเร็วชัตเตอร์ต่ำยิ่งจะทำให้แบล็คกราวน์เป็นเส้นเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

                             โดยปกติในกล้องถ่ายภาพสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 30 วินาที สูงขึ้นไปจนถึง 1/4000 หรือ 1/8000 วินาที สำหรับกล้องระดับโปรบางรุ่น สำหรับความเร็วชัตเตอร์ระดับกลางๆ คือประมาณ 1/60 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วชัตเตอร์ที่สูงพอที่จะถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือ ถ้าหากว่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/60 วินาทีลงมา เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ วินาที ถือว่าเป็นความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และตรงกันข้าม ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงกว่า เช่น 1/125 วินาที หรือ 1/500 วินาที จะเรียกเป็นความเร็วชัตเตอร์สูง


รูปถ่ายพลุ ใช้ชัตเตอร์ ซึ่งชัตเตอร์จะเปิดค้างในขณะที่รับแสง และสามารถเปิดหรือปิดการรับแสงได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

                               ส่วนการถ่ายภาพบางอย่าง เช่นถ่ายภาพพลุ หรือถ่ายภาพถนนยามค่ำคืนที่มีแสงไฟรถยาวเป็นเส้น อาจจะต้องการความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ หรือต่ำกว่า 30 วินาที กรณีนี้จะต้องใช้ชัตเตอร์ B หรือ Bulb ซึ่งเป็นการเปิดม่านชัตเตอร์ค้างไว้นานเท่าที่ผู้ใช้ต้องการ และจะต้องใช้งานร่วมกับขาตั้งกล้องกับสายลั่นชัตเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดสูงสุด


ภาพน้ำตก ใช้ความเร็วชัตเตอร์ วินาที เพื่อที่จะให้ได้สายน้ำตกที่ดูพลิ้วไหว นุ่มนวล

                                  สำหรับกรณีที่วัตถุที่เราต้องการจะถ่ายมีทั้งสิ่งที่หยุดนิ่งและสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ด้วยกัน ก่อนที่จะถ่ายจึงต้องกำหนดไว้ก่อนว่าต้องการภาพถ่ายแบบใด ถ้าหากใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสิ่งที่เคลื่อนไหวก็จะหยุดนิ่ง ภาพจะคมชัดทั้งหมด แต่ถ้าหากใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สิ่งที่เคลื่อนไหวก็จะเบลอ แต่สิ่งที่อยู่นิ่งก็จะคมชัด ดังนั้นการเข้าใจถึงผลของความแตกต่างระหว่างความเร็วชัตเตอร์สูงและความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะช่วยให้คุณสามารถวาดภาพที่ต้องการไว้ในจินตนาการก่อนที่จะถ่ายภาพจริงๆ ส่วนจะใช้ชัตเตอร์ต่ำหรือสูงมากแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบภาพที่ต้องการ และความเร็วในการเคลื่อนไหวของซับเจคต์ อย่างเช่น ถ่ายภาพน้ำตกที่มีสายน้ำไหลเอื่อยๆ เรื่อยๆ อาจจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำถึง วินาทีจึงจะได้สายน้ำที่พลิ้วไหว แต่ถ้าเป็นน้ำตกที่มีสายน้ำตกลงมาอย่างรุนแรง ชัตเตอร์ต่ำแค่ วินาทีก็พลิ้วไหวเพียงพอ เป็นต้น