EXPERTISE

8 ทริคเข้าใจง่าย ในการถ่ายภาพ Long Exposure

                 (Long Exposure) คือเทคนิคการถ่ายภาพโดยเปิดความเร็วชัตเตอร์ค้างไว้เป็นเวลานาน ที่ทำให้เราจับภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวออกมาเป็นเส้นสาย และทำให้วัตถุที่เคลื่อนไหวเหล่านั้นไม่หยุดนิ่ง เช่นการถ่ายแสงไฟรถยนต์ที่วิ่งในตอนกลางคืน หรือถ่ายภาพการเคลื่อนตัวของคลื่นน้ำ ช่วยให้ภาพถ่ายสวยงาม เทคนิคนี้ไม่ต้องอาศัยทักษะมากมาย เพียงแค่เรียนรู้หลักการง่ายๆ และฝึกฝนถ่ายภาพบ่อยๆ เราก็จะใช้เทคนิคนี้ได้ และที่สำคัญต้องมีขาตั้งกล้อง




1. ความนิ่งของกล้อง

                        สิ่งที่ควรระวังในการเปิดชัตเตอร์นานๆ คือ หากกล้องมีการเคลื่อนไหวแม้เพียงนิดเดียว ภาพที่ได้ก็จะเบลอ ตัวช่วยสำคัญคือขาตั้งกล้อง เราต้องตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องและหาพื้นที่ราบเรียบที่มีความมั่นคง นอกจากใช้ขาตั้งกล้องช่วยแล้ว ยังสามารถใช้สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทแทนการกดชัตเตอร์ที่ตัวกล้อง เพราะการกดชัตเตอร์ด้วยมือก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กล้องสั่นและภาพเบลอได้ หรือจะตั้งเวลาหน่วงชัตเตอร์ไว้ประมาณ วินาทีแทนก็ได้


2. สภาพอากาศ

                         หากในวันนั้นท้องฟ้าไม่มีเมฆหรือฝนตกหนักก็ไม่ควรออกไปถ่ายภาพ เพราะหากท้องฟ้าไม่มีเมฆ ก็ทำให้เราไม่มีกลุ่มเมฆที่ลอยเคลื่อนตัวให้เล่นในการเปิดความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ แถมภาพที่ได้ก็จะสว่างจ้าไปอีก เพราะมีแต่แสง ส่วนในเวลาที่ฝนตกหนัก การออกไปถ่ายภาพก็อาจส่งผลกระทบต่อตัวกล้องได้


3. องค์ประกอบของภาพ

                     สิ่งสำคัญคือองค์ประกอบในภาพ ไม่ควรโฟกัสองค์ประกอบเพียงแค่จุดๆเดียว แต่โฟกัสองค์ประกอบทั้งหมดของภาพ และตั้งใจหาองค์ประกอบรอบๆสถานที่ที่จะถ่ายภาพ การถ่ายโดยมีวัตถุที่ฉากหน้าจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพถ่ายได้ ดูว่าจะถ่ายภาพอย่างไรให้น่าดึงดูด แล้วภาพถ่ายที่ได้จะออกมาเป็นแบบไหน


4. ปิดระบบกันสั่นกล้องหรือเลนส์

                        เมื่อเราถ่ายภาพ Long Exposure ด้วยขาตั้ง กล้องมันนิ่งพออยู่แล้ว เราต้องการความมั่นคงและความนิ่งกริ๊บ ถ้าเราไม่ได้ปิดกันสั่น ตัวเซ็นเซอร์หรือเลนส์ มันก็จะยังเคลื่อนไหวอยู่ ทำให้ภาพเกิดการเบลอได้ ดังนั้นควรระวังให้ดี แม้ว่าหลายคนบอกกล้องบางตัวก็สามารถที่จะปิดกันสั่นเองได้เวลาที่ใช้ชัตเตอร์นาน ๆ อันนี้ต้องลองเช็คดูนะว่ากล้องตัวเองทำงานแบบนี้หรือเปล่า แต่ถ้าคนไหนไม่แน่ใจ หรือต้องการสบายใจ ให้เข้าใจว่าเมื่อถ่ายภาพ Long Exposure เราต้องปิดกันสั่นให้เรียบร้อยครับ ไม่ว่าจะที่กล้องหรือเลนส์ก็ตาม


Photograph by LES TAYLOR

5. แสง

                     ไม่ว่าจะถ่ายภาพตอนกลางวันหรือตอนกลางคืนแสงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากถ่ายภาพตอนกลางวันให้ตั้งค่ากล้องไปที่ Manual ใช้ ISO ต่ำๆ ส่วนตอนกลางคืนก็ปรับ ISO ให้สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแสงช่วงที่กำลังจะถ่ายภาพ และให้ตั้งค่ารูรับแสง แคบ เพราะในการถ่ายภาพโดยเปิดความเร็วชัตเตอร์นานๆต้องการความชัดลึกของภาพ การถ่ายโดยเปิดความเร็วชัตเตอร์นานเราสามารถเล่นกับอะไรก็ได้ที่มีการเคลื่อนไหว นอกเหนือจากสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น หากไปเจอชิงช้าสวรรค์ที่ติดไฟประดับและเปิดให้เล่นตอนกลางคืน เราก็สามารถเก็บภาพสวย ๆ นั้นมาได้

6. เทสต์ก่อนถ่าย

                        พอเตรียมตัวและตั้งค่ากล้องเสร็จแล้ว ควรลองถ่ายภาพดูก่อน เพราะการถ่ายภาพโดยเปิดความเร็วชัตเตอร์นานๆ นั้น ใช้เวลามากพอสมควรกว่าจะได้ภาพมา ดังนั้นหากเราตั้งค่ากล้องไม่ดี และภาพถ่ายออกมาไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ก็ทำให้เสียเวลาในการถ่ายได้ จึงควรลองถ่ายก่อนและค่อยปรับการตั้งค่ากล้องตามภาพถ่ายที่ต้องการ


7. ใช้ ND Filter

                        ฟิลเตอร์ ND ลดแสงหลายๆ stop อย่าง stop 8-10 เป็นสิ่งที่ต้องนำมาใช้ แต่ควรจัดองค์ประกอบของภาพให้ดีก่อนที่จะใส่ฟิลเตอร์ ND เพราะในการถ่ายภาพ Landscape ก่อนจะถ่ายภาพเราชอบมองภาพแบบเรียลไทม์ในจอ LCD หรือที่เรียกว่า Live view กัน แต่เมื่อใส่ฟิลเตอร์เข้าไปแล้ว จะไม่สามารถใช้ Live view มองภาพได้ ดังนั้นควรจัดองค์ประกอบของภาพให้ดีเสียก่อนจะใส่ฟิลเตอร์ ND เข้าไป

8. ใช้โหมดตัว B

                     ก่อนเริ่มลงมือถ่ายภาพ อย่าลืมตั้งค่ากล้องไปที่โหมดตัว หรือ Bulb mode ก่อน เพื่อเปิดความเร็วชัตเตอร์ให้นานกว่า 30 วินาทีหรือนานท่าที่เราต้องการ ถ้าหากอยากเปลี่ยนค่าความเร็วชัตเตอร์ การตั้งค่าอื่น ๆ ของกล้องอย่างค่ารูรับแสง และค่า ISO ก็ต้องเปลี่ยนให้สัมพันธ์กันด้วย


สิ่งสำคัญที่สุดหากอยากได้ภาพถ่ายที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์นานแบบสวยๆ ก็คือการฝึกฝน และหมั่นถ่ายภาพไปเรื่อย ๆ จะทำให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงามเข้าสักวัน

ที่มา https://contrastly.com/8-quick-tips-for-long-exposure-photography/